วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สถานที่ท่องเทียว :: จังหวัด นราธิวาส


สถานที่ท่องเที่ยว : จังหวัดจังหวัดนราธิวาส

" ทักษิณราชตำหนัก ชนรักศาสนา นราทัศน์เพลินตา บาโจตรึงใจ แหล่งใหญ่แร่ทอง ลองกองหอมหวาน "
แผนที่สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดนราธิวาส

นราธิวาส เดิมเป็นเพียงหัวเมืองชายแดนภาคใต้ หนึ่งในแปดหัวเมือง อันได้แก่ ปัตตานี หนองจิก ยะหริ่ง สายบุรี ระแงะ รือมัง จาลอ หรือยาลอ และจะนะ ประชากรใช้ภาษามลายูพื้นเมืองเป็นภาษาพูด ส่วนภาษาเขียนเป็นภาษาอาหรับดัดแปลง การอ่านเป็นภาษามลายูและโรมันมาเป็นภาษายาวี ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม

จังหวัดนราธิวาส เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในเขตภาคใต้ ของประเทศไทย โดย จังหวัดนราธิวาส เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่อยู่ทางตอนใ
ต้สุดของประเทศไทย นราธิวาส มีพื้นที่มากกว่า 4,475 ตารางกิโลเมตร นับได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ใหญ่ เป็นลำดับที่ 50 ของจังหวัดทั้งหมดของประเทศไทย โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของ จังหวัดนราธิวาส จะเป็นภูเขาและป่าไม้ มีแม่น้ำสำคัญ อยู่หลายสาย ด้วยกัน

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
ชายหาดนราทัศน์ เป็นชายหาดที่กว้าง มีทรายขาวสะอาด ที่สำคัญ ยังเป็นหาดที่อยู่ใกล้กับ ตัวเมืองนราธิวาส เพียงแค่ประมาณ 2 กิโลเมตร เท่านั้น ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกหนึ่งแห่งด้วยกัน โดยเดินทางไปตาม ถนนสายพิชิตบำรุง ดังนั้นชายหาดนราทัศน์จึงเป็นอีก ทางเลือก สำหรับนักท่องเที่ยว

น้ำตกฉัตรวาริน อยู่ที่ตำบลโต๊ะเด็ง ไม่ไกลจากตัวเมือง ไปตามทางหลวงหมายเลข 4056 ถึงโรงพยาบาลสุไหงปาดีแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนอีก 6 กิโลเมตร ทางเข้าลาดยางตลอด อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี เป็นน้ำตกขนาดกลาง มีน้ำตลอดทั้งปี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามทางด้านธรรมชาติ สภาพแวดล้อมร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด พันธุ์ไม้เด่นของที่นี่คือ ปาล์มบังสูรย์ ซึ่งเป็นไม้หายากพบในบริเวณป่าลึกที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,800 เมตร มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย ลักษณะเป็นไม้ลำต้นเตี้ยๆ แต่แตกก้านออกเป็นกอใหญ่ สูงท่วมหัว สามารถสูงได้ถึง 3 เมตร ใบแผ่กว้างทรงสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีเส้นใบเรียงกันเป็นระเบียบสวยงาม ได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่าเป็นปาล์มที่สวยงามที่สุด ซึ่งจะพบในป่าแถบนี้เท่านั้น ชื่อ “ปาล์มบังสูรย์” ตั้งโดยศาสตราจารย์ประชิด วามานนท์ ที่ปรึกษาโครงการส่วนพระองค์ เมื่อครั้งท่านเดินทางมาสำรวจพื้นที่แถบนี้ ได้พบปาล์มชนิดนี้ปลูกอยู่ในหมู่บ้านมุสลิม ศาสตราจารย์ประชิดเห็นว่าใบของปาล์มชนิดนี้มีลักษณะคล้าย “บังสูรย์” เครื่องสูงที่ใช้บังแดดในพิธีแห่จึงนำมาตั้งเป็นชื่อปาล์มดังกล่าว ส่วนภาษาท้องถิ่นเรียกว่า บูเก๊ะอีแป แปลว่าตะขาบภูเขา น่าจะมาจากส่วนช่อดอกที่คล้ายตัวตะขาบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น